วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

4. อุปกรณ์รับข้อมูลมัลติมีเดีย (multimedia input devices)

4. อุปกรณ์รับข้อมูลมัลติมีเดีย (multimedia input devices)
อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (sound input devices)
โดยปกติเสียงจะถูกบันทึกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้ไมโครโฟน ซึ่งเชื่อมต่อกับการ์ดเสียง (sound card) เสียงที่เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถที่จะนำมาแก้ไข เปลี่ยนแปลงโดยใช้โปรแกรมจัดการเสียง
กล้องดิจิตอล (digital camera)
กล้องดิจิตอลมีลักษณะคล้ายกับกล้องที่ใช้ถ่ายรูปโดยทั่วไป แตกต่างที่กล้องดิจิตอลจะจัดเก็บภาพในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอลบนแผ่นดิสก์หรือในหน่วยความจำแทนที่จะเก็บภาพไว้ในรูปแบบของฟิล์ม
กล้องดิจิตอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 ประเภท กล้องประเภทแรกจะเป็นกล้องดิจิตอลที่สามารถพกพกได้สะดวก เรียกว่า field camera ส่วนประเภทที่สองจะเป็นกล้องดิจิตอลที่ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า studio camera
กล้องดิจิตอลสามารถถ่ายภาพและแสดงผลลัพธ์ได้ในเวลาอันรวดเร็ว นิยมใช้จัดเก็บภาพเพื่อจะนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านคอมพิวเตอร์ เช่น ประวัติบุคลากร การทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต
อุปกรณ์รับข้อมูลจากวิดีโอ (video input)
ข้อมูลจากวิดีโอจะสามารถบันทึกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยใช้กล้องวิดีโอดิจิตอล (digital video camera) ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายกับกล้องดิจิตอล แต่กล้องวิดีโอดิจิตอลจะสามารถบันทึกภาพที่ต่อเนื่องกันได้
นอกจากกล้องดิจิตอลแล้ว การบันทึกข้อมูลต่อเนื่องหรือภาพเคลื่อนไหวยังสามารถใช้การ์ดวิดีโอที่ใช้ ตัดต่อภาพจากข้อมูลที่จัดทำด้วยกล้องวิดีโอแบบปกติ เพื่อแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของดิจิตอลให้ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้

3. อุปกรณ์กวาดข้อมูล (scanning devices)

3. อุปกรณ์กวาดข้อมูล (scanning devices)
เป็นอุปกรณ์เพื่อใช้บันทึกข้อความ ภาพวาด หรือสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยมีหลักการทำงานคือ อุปกรณ์จะทำการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอลที่สามารถนำไปประมวล ผลและแสดงผลบนจอภาพได้ อุปกรณ์กวาดข้อมูลที่ใช้กันในปัจจุบันมีดังนี้
สแกนเนอร์ (image scanner)

สแกนเนอร์บางครั้งเรียก image scanner และในบางครั้งเรียก page scanner เป็นอุปกรณ์ซึ่งสามารถจับภาพหรือข้อความทั้งหน้า โดยจะทำการแปลงข้อความหรือภาพจากเอกสารต้นฉบับให้อยูในรูปของข้อมูลดิจิตอล ซึ่งสามารถจัดเก็บและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้ ข้อมูลดิจิตอลนี้ยังสามารถพิมพ์ และแสดงผลร่วมกับเอกสารอื่นได้ด้วย สแกนเนอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น สแกนเนอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop scanner) สแกนเนอร์ขนาดมือถือ (hand-held scanner) และสแกนเนอร์ที่อยู่กับแป้นพิมพ์ เป็นต้น

เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด (bar code reader)
บาร์โค้ด ประกอบด้วยเส้นตรงแนวตั้งและช่องว่างที่มีขนาดแตกต่างกัน ปกตินิยมใช้พิมพ์หรือติดบนผลิตภัณฑ์ หรือพิมพ์เป็นฉลากเพื่อติดกับผลิตภัณฑ์ ส่วนเครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ดจะใช้รูปแบบของแสงจากเส้นบาร์โค้ดจำแนกประเภทของสิ่งของ ประเภทของบาร์โค้ดมีหลายแบบที่แตกต่างกัน แต่ที่คุ้นเคยกันมากที่สุดจะเป็น Universal product Code (UPC) ซึ่งเป็นบาร์โค้ดสำหรับสินค้าปลีกและของชำ
เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ดนิยมใช้กับงานขายสินค้าและบริการ เช่น ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้องสมุด สต๊อกสินค้า เป็นต้น ซึ่งลักษณะของเครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะและ วัตถุประสงค์การใช้งาน
เอ็มไอซีอาร์ (MICR)
อุปกรณ์เอ็มไอซีอาร์ (MICR divice) ย่อมาจาก magnetic ink character recognition device เป็นอุปกรณ์เพื่อรับข้อมูลและประมวลผลข้อความหรือเครื่องหมายที่พิมพ์ด้วย หมึกแม่เหล็ก (magnetic ink) เช่น เช็ค นิยมใช้ในงานธนาคาร โดยเช็คที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลจากธนาคารจะมีหมายเลขเช็ค (check number) รหัสธนาคาร (bank code) และหมายเลขบัญชี (account number) ปรากฏอยู่ด้านล่างของตัวเช็ค เมื่อเช็คผ่านการประมวลผลจากธนาคารแล้ว จำนวนเงินของเช็คฉบับนั้นจะถูกพิมพ์ที่มุมล่างด้านขวาของตัวเช็ค ต่อจากนั้นก็สามารถจะนำเช็คนั้นไปอ่านหรือเรียงลำดับด้วยเครื่อง MICR

2. อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งและวาดรูป (pointing and drawing devices)

2. อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งและวาดรูป (pointing and drawing devices)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของตัวชี้ตำแหน่ง (pointer) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ทำงานอยู่บนจอภาพคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งใช้เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเข้าสู่ระบบ โดยอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งและวาดรูปที่นิยมใช้มีดังนี้

เมาส์ (mouse)

เมาส์ใช้สำหรับควบคุมตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ โดยปกติแล้ว ตัวชี้ตำแหน่งนี้จะมีลักษณะเป็นลูกศร อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนสัญลักษณ์ตัวชี้ตำแหน่งนี้ได้
การทำงานของเมาส์จะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านสายเคเบิ้ล แต่ปัจจุบันจะมีเมาส์ชนิดไร้สาย (wireless) ติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยใช้แสงอินฟราเรดและคลื่นสัญญาณ และเมาส์บางชนิดจะมีแท่งชี้ควบคุม (trackpoint) อยู่บนตัวเมาส์
ลักษณะทั่วไปของเมาส์ ด้านล่างจะมีลูกกลิ้งกลม (ball) ซึ่งใช้สำหรับควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ โดยการเคลื่อนที่ของเมาส์ถูกแปลงไปเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ส่งให้ คอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์จะใช้สัญญาณนี้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ

ลูกกลมควบคุม (trackball)
ลูกกลมควบคุมเป็นอุปกรณ์ใช้ชี้ตำแหน่งคล้ายเมาส์ ต่างกันที่ลูกบอลของ trackball จะอยู่ด้านบน แต่ลูกบอลของเมาส์จะอยู่ด้านล่าง เมื่อจะใช้ trackball ผู้ใช้จะหมุนลูกบอลไปในทิศทางที่ต้องการ แต่ถ้าใช้เมาส์ผู้ใช้จะต้องเคลื่อนที่ทั้งตัวเมาส์โดยทั่วไปลูกบอลของ trackball จะมีขนาดใหญ่กว่าลูกบอลของเมาส์เพื่อความสะดวกในการควบคุมด้วยนิ้วมือและฝ่า มือ trackball ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นราบว่างในการเคลื่อนที่เหมือนเมาส์ และส่วนใหญ่จะถูกออกแบบให้ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา
จอภาพสัมผัส (touch screen)

จอภาพแบบสัมผัส เป็นจอภาพชนิดพิเศษที่ให้ผู้ใช้งานใช้นิ้วสัมผัสบนจอภาพ เพื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ แทนที่จะใช้การพิมพ์ทางแป้นพิมพ์หรือสั่งงานด้วยการคลิกเมาส์ การใช้งานระบบจอภาพสัมผัส ผู้ใช้จะต้องสัมผัสจอภาพที่อาจเป็นข้อความ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์แทนตำแหน่ง จากนั้นโปรแกรมจะทำหน้าที่แปลงเป็นสัญญาณเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
จอภาพสัมผัสไม่นิยมใช้กับงานที่ต้องป้อนข้อมูลจำนวนมากเข้าสู่ระบบ ส่วนใหญ่นิยมใช้กับงานเฉพาะอย่างที่ให้ผู้ใช้เลือกจากรายการที่กำหนดไว้ เช่น การให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหารจานด่วน สถานีบริการน้ำมัน ตู้เกมตามศูนย์การค้า เป็นต้น

อ้างอิง

1 http://graphics.sci.ubu.ac.th/wiki/index.php/Input
2 http://www.geocities.com/krongkaewsangton/P2.5.html

1. อุปกรณ์แบบกด (keyed device)


1. อุปกรณ์แบบกด (keyed device) อุปกรณ์ประเภทนี้ ได้แก่ แป้นพิมพ์หรือ keyboard

นอกจากแป้นพิมพ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปแล้ว ยังมีแป้นพิมพ์แบบไร้สาย (wireless) ที่สามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ผ่านแสงอินฟาเรด และยังมีปุ่มเมาส์อยู่บนแป้นพิมพ์ด้วย นอกจากนี้ยังมีแป้นพิมพ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับงานเฉพาะด้าน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการบันทึกข้อมูล ตัวอย่างเช่น แป้นพิมพ์เพื่องานธนาคาร ร้านอาหารจานด่วน (fast food) ตู้ถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) เป็นต้น

เป็นหน่วยรับข้อมูลที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการป้อนข้อมูลสำหรับเทอร์มินัล และไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายแป้นของเครื่องพิมพ์ดีด แต่มีจำนวนแป้นมากกว่า และถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน คือ

แป้นอักขระ (Character Keys)

จะมีลักษณะการจัดวางตัวอักษรเหมือนแป้นเครื่องพิมพ์ดีด

แป้นควบคุม (Control Keys) เป็นแป้นที่มีหน้าที่สั่งการบางอย่างโดยใช้งานร่วมกับแป้นอื่น แป้นฟังก์ชั่น (Function Keys) คือแป้นที่อยู่แถวบนสุด มีลักษณะเป็น F1, F2,…,F12 ซอฟต์แวร์แต่ละชนิดอาจกำหนดแป้นเหล่านี้ให้มีหน้าที่เฉพาะอย่างแตกต่างกันไป แป้นตัวเลข (Numeric Keys) เป็นแป้นที่แยกจากแป้นอักขระมาอยู่ทางด้านขวา มีลักษณะคล้ายเครื่องคิดเลข ช่วยอำนวยความสะดวกในการบันทึกตัวเลขเข้าสู่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Devices)

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

การรับข้อมูล (input) หมายถึง กระบวนการป้อนข้อมูล คำสั่ง โปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการโต้ตอบของผู้ใช้โปรแกรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้คำว่า input ยังหมายถึงอุปกรณ์ซึ่งสามารถป้อนข้อมูลและคำสั่ง หรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้
หน่วยรับข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมเข้าสู่ระบบโดยผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล

อุปกรณ์รับข้อมูล (input devices) อุปกรณ์รับข้อมูล สามารถจำแนกได้ดังนี้
1. อุปกรณ์แบบกด (keyed device)
2.
อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งและวาดรูป (pointing and drawing devices)
3.
อุปกรณ์กวาดข้อมูล (scanning devices)
4.
อุปกรณ์รับข้อมูลมัลติมีเดีย (multimedia input devices)